ผู้สนับสนุน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิธีจัดการความเครียดของคุณแม่มือใหม่

วิธีจัดการความเครียดของคุณแม่มือใหม่

คุณรู้สึกเหนื่อยล้า บ้านวุ่นวาย ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง ลูกของคุณร้องไม่ยอมหยุด ไม่ต้องแปลกใจคุณอยู่ในภาวะขวัญหนีดีฝ่อ มาดูกันว่าจะช่วยให้คุณแม่มือใหม่รอดจากภาวะความเครียดหลังคลอดได้อย่างไร

'สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้คุณแม่มือใหม่วิตกกังวลมาจากปัญหาหลายอย่างที่เข้ามาจนไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรดี หรือไม่รู้ว่าเรื่องไหนสำคัญที่สุด' Clare Delpech จาก The Association for Post-Natal Illness (www.apni.org) กล่าว 'ความกังวลเรื่องงานบ้านหรืองานก่อนหน้านี้หรือปัญหาอื่นเป็นที่เข้าใจได้ แต่สิ่งที่สำคัญนั่นคือคุณแม่มือใหม่ต้องดูแลตัวเองโดยรับประทานอาหารที่ดี พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว ซึ่งจะทำให้เธอรับมือกับลูกน้อยคนใหม่ของเธอได้ดี'


คุณแม่มือใหม่บางคนบอกว่าพวกเธอรู้สึกโชคดีถ้าหากว่าพวกเธอสามารถท่องเที่ยวในที่สุดหรูได้ในบางวัน เป็นอีกวิธีที่พ่อแม่มือใหม่สามารถทำได้ คำแนะนำง่ายๆ 'ความกระฉับกระเฉง' เป็นยาต้านความรู้สึกซึมเศร้าได้ ลองกำหนดเป้าหมายเล็กๆ ที่ทำได้จริงในแต่ละวัน อย่างเช่น 'ฉันจะอาบน้ำทุกวัน' แค่นี้ก็พอแล้ว เมื่อคุณและเจ้าตัวน้อยอยู่บ้านเพียงลำพัง

Clare กล่าวว่า 'บางครั้งคุณแม่มือใหม่ก็อยากจะห่างลูกน้อยบ้าง' ถ้าหากมีเพื่อนหรือครอบครัวที่พอจะมาช่วยเลี้ยงได้ หรือคุณสามีเมื่อกลับถึงบ้านแล้วผลัดกันเลี้ยงลูก จะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ทั้งทางร่างกายและจิดใจที่ได้พัก 'อาจจะเดินสูดอากาศหรือแช่น้ำอุ่น ซึ่งจะช่วยให้เธอจัดการกับความเครียดได้ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด'


แม้จะต้องให้ความสำคัญกับ 'กิจวัตรประจำวัน' เลี้ยงลูก, นอน และรับมือกับลูกน้อย คุณแม่มือใหม่ก็ควรหาวันของตัวเองที่แตกต่างจากวันอื่นเท่าที่จะทำได้ 'ทำอะไรที่แปลกไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่กับลูกที่บ้าน' Clare แนะนำ พยายามนัดเจอเพื่อนดื่มกาแฟ หรือพาลูกเดินเล่นนอกบ้าน เดินนอกเส้นทางบ้าง และแวะชมสถานที่ที่คุณไม่เคยไปมาก่อน


คนที่คุณรักจะคอยพูดปลอบโยนและคอยช่วยเหลือเมื่อลูกของคุณเกิด ให้พวกเขาช่วยเหลือคุณทุกอย่าง 'เรื่องที่น่าเลวร้ายอย่างหนึ่งสำหรับคุณแม่มือใหม่คือรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีใครคอยช่วยเหลือ ไม่มีใครคุยด้วย' Clare เสริม 'การพูดคุยเป็นเทคนิคที่ดีในการรับมือกับความเครียด ทว่าจะดีไม่น้อยหากได้พูดคุยกับญาติหรือเพื่อนฝูงอย่างเห็นหน้าเห็นตากันด้วย'


'การรักษาความภาคภูมิใจในตนเองของคุณเป็นปัจจัยสำคัญในการหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้า' Clare กล่าว 'อาจจะเป็นเรื่องยากในช่วงแรกเพราะทุกอย่างมุ่งไปที่เจ้าตัวน้อย พลังของคุณจะลดลง แต่เมื่อคุณได้ออกไปข้างนอกและดูแลตัวเองคุณจะรู้สึกดีขึ้น ไปช้อปปิ้งหรือนัดช่างทำผมทำผมตอนค่ำ'

คำแนะนำจากกลุ่มคุณแม่ก่อนและหลังคลอดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนไปพร้อมกับเพื่อนและครอบครัว มีกลุ่มตามศูนย์ดูแลสุขภาพท้องถิ่นที่น่าเชื่อถือ ตามคลีนิค หรือจะจับเป็นกลุ่มส่วนตัว เป็นเรื่องที่ดีที่คุณแม่มือใหม่จะออกจากบ้านและได้พูดคุยกับคุณแม่คนอื่นหรือผู้เชี่ยวชาญ บางกลุ่มมี 'วิทยากรรับเชิญ' รวมถึงผู้ให้บริการดูแลหลังคลอด, ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ และแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์

'การเปลี่ยนแปลงจากคู่สามีภรรยามาเป็นพ่อแม่สามารถเกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์' Denise Knowles ผู้ให้คำปรึกษาครอบครัวให้กับองค์กร Relate.org.uk อธิบาย ถ้าคุณไม่มีความสุขกับความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน หาเวลาคุยกัน เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับคุณทั้งคู่ เมื่อคุณไม่ต้องดูแลลูก หิว หรือเหน็ดเหนื่อย 'พยายามหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ให้อธิบายว่าคุณรู้สึกเช่นไร และสิ่งใดที่คุณอยากให้ช่วยจริงๆ ณ ตอนนั้น' Knowles กล่าวเสริม

'ทานอาหารเพื่อสุขภาพ ความแข็งแรง และความสุข' Clare แนะนำ 'หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่สุดโต่งอย่างเช่นการโหมลดน้ำหนักหลังคลอด คุณยังต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ พยายามทานอาหารสดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้และผัก ทานแต่น้อยแต่ทานบ่อยทั้งวัน ทานน้อยแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างผลไม้และผักสดซึ่งช่วยฟื้นฟูร่างกายของคุณ ถ้าคุณทานอาหารสดก็ช่วยเรื่องลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี' ทานช็อคโกแล็ตพอประมาณช่วยให้อารมณ์ดีและเพิ่มพลังงานอีกด้วย

ในยุคอินเทอร์เน็ตมีร้านขายของออนไลน์, กระทู้คุณแม่มือใหม่, ห้องสนทนา และแม้กระทั่งเว็บไซต์แลกเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดซึ่งให้คุณแม่มือใหม่ที่อยู่บ้านได้ติดต่อถึงกัน สามารถติดต่อกับคู่ของคุณ ถ้าพวกเขายังอยู่ที่ทำงาน อีเมล, Skype และเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็ยังเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนข่าวสารเด็กแรกเกิด และเรื่องซุบซิบต่างๆ



th.msn.com