ผู้สนับสนุน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงร่างกายในช่วงแรก

ก. การเปลี่ยนแปลงของหน้าท้อง

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ท้องคุณแม่จะเริ่มเหมือนคนตั้งครรภ์แล้วคือโดยจะรู้สึกว่า
ท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้นและรู้สึกถึงลูกน้อยที่อยู่ในท้อง ซึ่งคุณแม่จะมีความสุขและเพลิดเพลินไปกับ
การที่ลูกน้อยกำลังเติบโตอยู่ในช่วงนี้มาก โดยเมื่อถึง 16 สัปดาห์ของไตรมาสที่ 2 ท้องคุณแม่จะเริ่มโตและเห็นได้จากภายนอก
โดยในช่วงนี้ ควรเริ่มใส่ชุดชั้นในสำหรับคุณแม่ เพื่อช่วยพยุงมดลูกที่ใหญ่และหนักขึ้น เช่น ผ้าคาดหน้าท้อง, กางเกงชั้นในพยุงหน้าท้อง
เป็นต้น
ข. ผิวแตกลาย

ผิวแตกลาย คือ เส้นลายที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง โดยเกิดจากการที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังแตกลายในตอนที่หน้าท้องขยายขนาดใหญ่ขึ้น
อย่างรวดเร็ว ซึ่งเส้นลายนี้อาจจะเกิดขึ้นกระทันหันได้ในไตรมาสที่ 3 หรือ เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

1. สาเหตุของการเกิดผิวแตกลาย

การที่หน้าท้องขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังด้านนอกไม่สามารถรับมือกับความเร็วในการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อ
และไขมันได้จึงทำให้ผิวแตกลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและรูปร่าง และน้ำหนักเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ของแต่ละบุคคล จะเกิดผิวแตกลายได้ง่ายกว่า โดยการเกิดผิวแตกลายจะไม่มีอาการเจ็บ แต่บางคน
อาจจะรู้สึกคัน ซึ่งจะไม่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อลูกน้อยในท้อง แต่ถ้าว่าลายที่เกิดขึ้นนี้จะไม่สามารถลบเลือนหายไปได้ ดังนั้นขอให้
คุณแม่คิดเสียว่า “ผิวแตกลายเป็นหลักฐานของการคุณแม่” แต่ถ้าคุณแม่ไม่อยากให้มีรอยที่ผิวก็ควรหาวิธีป้องกันไว้

2. วิธีการป้องกันผิวแตกลาย

สำหรับการป้องกันการเกิดผิวแตกลาย มีหลักสำคัญ 2 ประการ ดังนี้

- การควบคุมการเพิ่มน้ำหนักตัว
โดยตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การใส่เอาใจในการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยการควบคุมน้ำหนักตัวค่อย ๆ ให้เพิ่มขึ้นที่ละน้อย แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องพยายามควบคุมปริมาณ
แคลอรี่ให้เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของลูกในท้องด้วย

- การรักษาความชุ่มชื้นของผิว
ผิวแตกลายเป็นปัญหาด้านผิวหนัง หลักการในการป้องกันปัญหาด้านผิวหนัง คือ “การรักษาความชุ่มชื้น” เช่นเดียวกับหน้า
โดยหลังอาบน้ำคุณแม่ควรทาครีมที่หน้าท้องและนวดเบา ๆ โดยหากเราสามารถรักษาสภาพผิวให้ชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นได้
แล้วในตอนที่ท้องขยายขนาดขึ้นผิวหนังที่ยืดหยุ่นนี้จะช่วยป้องกันผิวแตกลายได้ โดยในปัจจุบันก็มีครีมสำหรับป้องกัน
ผิวแตกลายโดยเฉพาะแล้ว
ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะมีผิวแตกลายเกิดขึ้นในจุดที่มองเห็นเองได้ยาก เช่น ท้องด้านล่าง ดังนั้นการรักษา
ความชุ่มชื้นของท้องทั้งหมดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

หากเกิดผิวแตกลายแล้วรอยอาจจะไม่หายไป ซึ่งในระหว่างที่ตั้งครรภ์รอยจะมีสีแดง แต่หลังคลอดจะมีสีค่อนข้างขาวและจะค่อย ๆ
จางลงไป หลังเกิดผิวแตกลาย ถ้าคุณแม่ยังทาครีมให้ความชุ่มชื้นและนวด อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้สีเข้มขึ้นกว่านั้นได้

ค. การเปลี่ยนแปลงเต้านม

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่เต้านม ซึ่งคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเต้านมเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับลูก จึงแนะนำว่า
คุณแม่จะควรดูแลหัวนมและลานนมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เป็นพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อมของ “เต้านม” สำหรับลูกน้อย

1. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ จะพบว่าเต้านมจะไวต่อความรู้สึก สีของหัวนมจะมีการเปลี่ยนแปลง และเต้านมจะใหญ่ขึ้น
เนื่องจากมีการสร้างต่อมน้ำนมและมีไขมันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ขอแนะนำให้คุณแม่ใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนตั้งครรภ์ที่ไม่รัด และสามารถรองรับ
ขนาดของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ส่วนเรื่องการดูแลหัวนมนั้นขอแนะนำให้คุณแม่ควรนวดหัวนมและลานนมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์
เพื่อให้มีน้ำนมสำหรับลูกน้อยเมื่อตอนหลังคลอด

2. ช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงเต้านม

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์คุณแม่จะมีความรู้สึกว่าหัวนมจะไวต่อความรู้สึก ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเหมือนสัญญาแรกเกี่ยวกับเต้านมในการบงบอกว่า
คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ และสีของหัวนมหรือลานนมก็จะคล้ำขึ้นด้วย นอกจากนี้ในขณะตั้งครรภ์แม้ว่าตอนนี้คุณแม่จะยังไม่มีน้ำนม
ออกมาแต่เต้านมก็เริ่มขยายขนาดใหญ่ขึ้นมาเรื่อยๆแล้ว ส่วนรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงเต้านมในแต่ละช่วงจะมี ดังนี้

- การเปลี่ยนแปลงในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
• หัวนมไวต่อความรู้สึก
หากหัวนมสัมผัสถูกชุดชั้นในหรือเสื้อผ้า คุณแม่ก็อาจจะรู้สึกเจ็บหรือรู้สึกแปลบ ๆ เนื่องจากหัวนมเริ่มมีการสร้างต่อมน้ำนม
ขึ้นมาแล้วนั่นเอง
• สีของหัวนมและลานนมคล้ำขึ้น
เนื่องจากเม็ดสีเมลานินที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสมดุลฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์

- การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 จนถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
เต้านมจะค่อย ๆ ขยายขนาดใหญ่ขึ้นแต่จะยังไม่มีน้ำนม โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะมีการสร้างต่อมน้ำนมขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมี
ไขมันเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับทั้งร่างกาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระยะเวลานี้มีดังนี้
• เต้านมขยายขนาดใหญ่ขึ้น
โดยอาจจะมีปัญหาผิวแตกลายเช่นเดียวกับหน้าท้อง เนื่องจากเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น คุณแม่จึงควรดูแลผิวด้วยครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
• มีน้ำนมไหลออกมา
อาจจะมีน้ำนมไหลออกมาเล็กน้อยเมื่อเกิดสิ่งกระตุ้นที่หัวนม เนื่องจากต่อมน้ำนมได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว โดยลักษณะน้ำนมที่ไหลออกมา
จะมีลักษณะเป็นสารคัดหลั่งที่มีสีขาวขุ่น

3. น้ำนมจากเต้านม

น้ำนมที่ไหลออกมาจากเต้านมเป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ดังนั้นการดูแลหัวนมและลานนมในขณะตั้งครรภ์จึงเป็น
สิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณแม่สามารถเริ่มให้นมลูกได้อย่างไม่มีปัญหาเมื่อตอนหลังคลอด
นอกจากนี้เต้านมหลังคลอดของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามธรรมชาติและมีน้ำนม แต่การไหลของน้ำนมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน
เนื่องจากความแตกต่างของรูปทรงหัวนม และสภาพการเปิดของต่อมน้ำนม โดยรูปร่างของหัวนมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งจะมีทั้ง
รูปร่างที่ลูกน้อยดูดได้ง่ายและดูดได้ยาก เช่น หัวนมแบบแบนจะดูดได้ยาก
หากน้ำนมไหลได้ไม่ดีหรือไม่ค่อยมีน้ำนม สาเหตุอาจเกิดมาจากการติดขัดภายในต่อมน้ำนมจึงส่งผลทำให้เส้นทางการไหลของน้ำนมไม่ดี
และไหลออกได้ยาก ดังนั้นเพื่อให้เต้านมอยู่ในสภาพที่ลูกน้อยจะสามารถดูดนมได้ง่ายขอแนะนำให้คุณแม่นวดส่วนของหัวนมและลานนม
ตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หรืออาจจะหาอุปกรณ์ที่ช่วยดัดหัวนมที่บุ๋มหรือแบนแทนได้ แต่ในขณะตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่
จะบอบบางมาก อาจมีบางกรณีที่การนวดจะไปกระตุ้นให้รู้สึกท้องอืดได้ ดังนั้นก่อนที่จะนวดหรือใช้อุปกรณ์ ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน
- การนวดหัวนมและลานนม
หากนวดหลังอาบน้ำจะทำให้ผิวนุ่มและได้ผลมากขึ้น โดยวิธีการนวดให้คุณแม่ประคองเต้านมด้วยมือข้างเดียว และจับลานนมด้วยนิ้ว
อีกข้าง ค่อย ๆ บีบนวดทั้งข้างซ้ายและข้างขวาทีละน้อย โดยก่อนที่จะเริ่มนวดหัวนมและลานนมจะต้องล้างมือและเต้านมให้สะอาดก่อน