ผู้สนับสนุน

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การตรวจอัลตราซาวด์ครั้งแรก

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นวิธีการตรวจเพื่อเช็คสภาพการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลูกน้อย
ที่อยู่ในครรภ์รวมถึงสภาพร่างกายของคุณแม่ด้วย ซึ่งเราจะสามารถเห็นภาพได้ผ่านทางจอมอนิเตอร์
โดยการตรวจอัลตราซาวด์มักจะทำการตรวจในช่วงต้นๆของการตั้งครรภ์ และเนื่องจากปัจจุบัน
เทคโนโลยีการตรวจอัลตราซาวด์ได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ทำให้มีประเภทของวิธีการตรวจ
และวิธีแสดงภาพต่างๆมากมาย ดังนี้
ก. กลไกของการตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องหาปลา เพราะคลื่นอัลตราโซนิกที่นำมาใช้นั้นเป็นคลื่นความถี่สูง ซึ่งมี
คุณสมบัติสะท้อนเส้นขอบอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อเมื่อผ่านของเหลว โดยมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในทะเลโดยสร้างเป็นเครื่องหาปลา
และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจครรภ์ของคุณแม่ที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำโดยนำไปตรวจสอบระหว่างการตั้งครรภ์ โดยการตรวจ
อัลตราซาวด์จะทำให้สามารถเห็นคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพได้ ดังนั้นจึงสามารถตรวจได้ด้วยการดูที่จอมอนิเตอร์หรือพิมพ์ภาพออกมา
และในบางโรงพยาบาลอาจจะสามารถขอให้ช่วยบันทึกภาพเป็นวีดีโอได้ และการตรวจอัลตราซาวด์ยังไม่มีตัวอย่างรายงานถึง
ผลข้างเคียงต่อผู้ตั้งครรภ์เหมือนเช่นการเอกซ์เรย์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง
ข. ประเภทของวิธีการตรวจอัลตราซาวด์

1. วิธีอัลตราซาวด์ผ่านทางช่องคลอด
เป็นวิธีการตรวจโดยการสอดอุปกรณ์ส่งคลื่นอัลตราโซนิกในรูปแบบแท่งที่เรียกกันว่าหัวตรวจทางช่องคลอดเข้าไปในช่องคลอด
ซึ่งวิธีการนี้จะใช้ตรวจในครั้งแรกๆของอายุครรภ์ จนถึงประมาณ 11 - 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอดนี้
จะช่วยให้เห็นมดลูกในตำแหน่งที่ใกล้กับลูกในครรภ์มากกว่า จึงสามารถได้ภาพที่ละเอียด และไม่เพียงแต่ได้ตรวจสภาพของลูกน้อยเท่านั้น
แต่ยังสามารถตรวจสภาพความแข็งแรงของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ได้อีกด้วย หากคุณแม่เข้ารับการตรวจด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย
จะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ แต่หากคุณแม่เครียดและฝืน อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บในตอนที่สอดเข้าไป ซึ่งในเวลาดังกล่าวขอให้คุณแม่บอกคุณหมอตรง ๆ
ถึงความรู้สึกหรือความกังวล นอกจากนี้ในการตรวจหัวตรวจมีการฆ่าเชื้อ และใส่ถุงยางอนามัยเฉพาะทางให้ทุกครั้ง จึงมีความสะอาดอย่างมาก

2. วิธีอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง
เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ที่ทำตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ โดยการตรวจจะใช้หัวตรวจตรวจจากภายนอกท้องคุณแม่ จะมีการ
ทาเจลสำหรับช่วยให้คลื่นอัลตราโซนิกผ่านได้ดีที่ท้อง และค่อย ๆ เลื่อนหัวตรวจไปบนหน้าท้อง จึงไม่มีความเจ็บปวด จะมีเพียงแค่
จะรู้สึกถึงเจลเย็นเล็กน้อยเท่านั้นนอกจากนี้จะต้องเปลี่ยนท่าทางและการหายใจตามคำสั่งของคุณหมอให้ตรงกับตำแหน่งและ
การเคลื่อนไหวของลูกน้อยอีกด้วย ส่วนเจลที่ใช้ในการทานั้นจะไม่มีอันตรายใด ๆ และสามารถทำความสะอาดหลังตรวจได้ง่าย ๆ
เพียงแค่ใช้ผ้าเช็ดออกเท่านั้น

ค. ประเภทของวิธีการแสดงภาพ

1. วิธี Ultrasonotomography
เป็นวิธีแสดงข้อมูลที่ได้รับจากการสะท้อนของคลื่นอัลตราโซนิกเป็นภาพ 2 มิติ (แนวราบ) และเป็นวิธีการตรวจที่ใช้กันมากที่สุด
ซึ่งมีทั้งแบบตรวจทางช่องคลอดและทางหน้าท้อง

2. วิธี Color Doppler Image *วิธีตรวจทางหน้าท้อง
เป็นวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ที่สามารถตรวจวัดปริมาณและความเร็วของกระแสเลือด ซึ่งทำให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติของ
จำนวนเส้นเลือดในสายสะดือและรูปร่างหัวใจของลูกน้อย

3. วิธี 3D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง
เป็นวิธีที่ช่วยให้เห็นรูปร่างจริงแบบ 3 มิติของลูกน้อยในท้องุณแม่ ราวกับได้แอบมองลูกน้อยผ่านหน้าต่าง

4. วิธี 4D *วิธีตรวจทางหน้าท้อง
จะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีมิติความละเอียดของเวลาเพิ่มจากวิธี 3D โดยจะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวเบา ๆ สบาย ๆ
ราวกับลูกน้อยกำลังเดินสำรวจอวกาศอยู่ในน้ำคร่ำ
ในการตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูก และตรวจสภาพมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ สามารถตรวจด้วยวิธีการแสดงภาพแบบ
Ultrasonotomography ก็เพียงพอที่ทำให้ทราบข้อมูลในเบื้องต้นได้ ส่วนการตรวจแบบวิธี 3D และ 4D นั้นบางโรงพยาบาลยังไม่มี
การนำมาใช้ในการตรวจมากนัก และ 2 วิธีดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่การตรวจสอบที่ใช้กันแพร่หลายจึงยังมีผู้ที่ต้องการตรวจน้อย
ง. ความถี่ในการตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจจะขึ้นอยู่กับสถาบันการแพทย์แต่ละที่ ซึ่งการตรวจนี้จะต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย แต่อาจจะมีโรงพยาบาลบางแห่งที่ทำการตรวจ
ให้ทุกครั้งที่มีนัดตรวจตามกำหนดเวลา หรือทำการตรวจ 2 - 3 ครั้งตามความจำเป็น

จ. ประโยชน์ของการตรวจอัลตราซาวด์

1. เพื่อตรวจสุขภาพคุณแม่
ขั้นตอนของการตรวจครั้งแรกจะเป็นการตรวจสภาพของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ปกติหรือไม่ปกติ
เช่น การตรวจการตั้งครรภ์นอกมดลูก การตรวจความผิดปกติที่รังไข่ การตรวจภาวะรกเกาะต่ำ เป็นต้น

2. เพื่อตรวจสภาพการเจริญเติบโตของลูก
วัตถุประสงค์ของการตรวจอัลตราซาวด์ที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจสภาพความผิดปกติของการเจริญเติบโตของลูกน้อย และนอกจากนี้
ไม่เพียงแค่คุณแม่จะได้ทราบว่าลูกน้อยเป็นฝาแฝด หรือลูกน้อยกำลังอยู่ในท่าทางใดเท่านั้น แต่ยังสามารถรู้ขนาดความยาวของส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะท่าทางของลูกได้อีกด้วย โดยจะวัดความยาวตั้งแต่ศรีษะถึงก้นที่เรียกกันว่า “ความยาวของทารก (Crown-Rump Length;
CRL)” หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของศรีษะ, ความยาวของกระดูกสะโพก, ขนาดของรอบท้อง ฯลฯ อย่างละเอียดซึ่งสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้
ในการกำหนดวันคลอดได้อีกด้วย
นอกจากนี้ คุณแม่จะสามารถรู้เพศของลูกน้อยได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 24 สัปดาห์ขึ้นไป

3. เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก
สำหรับวิธี Color Doppler Image จะทำให้ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงของอวัยวะภายในแต่ละส่วน
สภาพของสายสะดือ หรืออาจจะพบความผิดปกติของหัวใจ ฯลฯ ของลูกน้อยได้ด้วย
นอกจากนี้ อาจจะทำให้รู้ถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่จะส่ผลกระทบต่อคุณแม่ตอนคลอดได้เช่น จากปริมาณของน้ำคร่ำ จากตำแหน่ง
ของรก และจากสภาพของสะดือ เป็นต้น แต่เนื่องจากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์นั้นยังมีความแตกต่างกับการตรวจสอบทางเคมีอยู่มาก
จึงไม่อาจสรุปข้อมูลจากการตรวจอัลตราซาวด์ได้จากแหล่งเดียว

4. ทำให้ยิ่งรู้สึกถึงความเป็นแม่
การได้ “เห็น” ลูกน้อยในครรภ์ผ่านการตรวจอัลตราซาวด์นั้นถือว่าเป็นเรื่องน่าที่น่าซาบซึ้งมากสำหรับคุณแม่ทุกๆคน ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็น
ประสบการณ์แรกสุดที่ทำให้คุณแม่ได้พบกับลูก และเป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกถึงความเป็นแม่อย่างแท้จริง