ผู้สนับสนุน

พัฒนาการเด็กเล็ก

ผู้เขียนเปิดบล็อกนี้ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี สำหรับคุณแม่ที่มีความห่วงใยที่มีต่อคุณลูกและต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดต่อลูกรัก บทความภายในบล็อกเกิดจากการรวบรวมเนื้อหาสาระที่ดีมารวมกันไว้ที่เดี่ยวกัน

พัฒนาการเด็กเล็ก

ผู้เขียนเปิดบล็อกนี้ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี สำหรับคุณแม่ที่มีความห่วงใยที่มีต่อคุณลูกและต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดต่อลูกรัก บทความภายในบล็อกเกิดจากการรวบรวมเนื้อหาสาระที่ดีมารวมกันไว้ที่เดี่ยวกัน

พัฒนาการเด็กเล็ก

ผู้เขียนเปิดบล็อกนี้ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี สำหรับคุณแม่ที่มีความห่วงใยที่มีต่อคุณลูกและต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดต่อลูกรัก บทความภายในบล็อกเกิดจากการรวบรวมเนื้อหาสาระที่ดีมารวมกันไว้ที่เดี่ยวกัน

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การสกรีนหลอดครีม งานสกรีนหลอดครีมหรือกระปุกครีมที่ดี




การสกรีนหลอดครีม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มความจดจำให้ลูกค้ากลับมาซื้อใช้อีก ข้อดีของการสกรีนคือหมึกติดแน่นอย่างดีกับขวด เซรามิก แก้วและพลาสติก ขวดไปไหน แบรนด์ก็ไปด้วย ต่างกับการสกรีนที่กล่องบรรจุภัณฑ์เพียงตำแหน่งเดียวที่เมื่อแกะสินค้าออกจากกล่องแล้วก็ทิ้งกล่อง

สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่กำลังเริ่มต้นคิดจะก้าวเข้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอาง อาหารเสริม ฯลฯ หรือกำลังมองหาตัวช่วยส่งเสริมการขายเพื่อยกระดับให้กับแบรนด์ แน่นอนว่าการสกรีนหลอดเครื่องสำอางหรือภาชนะบรรจุภัณฑ์ ให้ติดทนนาน สวยงามสดใส หรูหรา ดูมีระดับ ช่วยสร้างการจดจำของแบรนด์นั้น การออกแบบการสกรีนภาชนะบรรจุภัณฑ์ จึงมีความสำคัญ เพราะจะเป็นส่วนที่ผู้ใช้สินค้านั้นมองเห็นช่วงเวลาการใช้จริง
  

ช่องทางสั่งซื้อสินค้า
https://facebook.com/asiabottle
Line id : @krapook
website : https://www.กระปุกครีม.com
โทร. 094 924 6322








ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุและทางแก้ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ไอนานแค่ไหนถึงเรียกว่าเรื้อรัง

การไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เส้นประสาทจะส่งสัญญาณไปยังสมอง ให้สมองขจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมหะ น้ำหอม ฝุ่นละอองออกจากทางเดินหายใจ สำหรับเด็ก หากมีอาการไอไม่ถึง 2 สัปดาห์ เรียกว่า อาการไอเฉียบพลัน แต่หากไอต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนถือว่าไอเรื้อรัง ซึ่งอาการไอเรื้อรังในเด็กนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

สาเหตุของอาการ ไอเรื้อรังในเด็ก

อาการหลังติดเชื้อไวรัส

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มอาการครูป (Croup/Laryngotracheobronchitis) สามารถทำให้เด็กมีอาการไอติดต่อกันได้ยาวนานหลายสัปดาห์ เด็กที่เป็นไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการไอแค็กๆ หากเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไอแห้ง ส่วนกลุ่มอาการครูปทำให้มีอาการไอเสียงก้องพร้อมหายใจเสียงดัง ส่วนใหญ่มักเกิดในตอนกลางคืน อาการไอเรื้อรังในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ แต่จะค่อยๆ หายได้เอง หากเป็นเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป คุณหมออาจรักษาด้วยการให้กินยาระงับอาการไอ หรือยากดอาการไอ (Cough Suppressants)

โรคหืด

เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหืด หรือหอบหืด (Asthma) จะมีภาวะทางเดินหายใจบวมหรือติดเชื้อ จนเป็นสาเหตุให้หายใจหรือไอแบบมีเสียงฟืดฟาดหรือเสียงหวีด (Wheezing cough) โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นกระตุ้นให้เกิดภาวะหดเกร็งเพราะหอบหืด เป็นเหตุให้เด็กที่เป็นโรคหืดมีอาการไอหนักในตอนนอน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นโรคหืด เช่น ควันพิษ น้ำหอม การออกกำลังกาย อากาศเย็น เพราะอาจทำให้อาการไอเรื้อรังในเด็กแย่ลงได้

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน นอกจากจะทำให้มีอาการเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ เช่น ปวดท้อง แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้อาเจียน รวมไปถึงมีรสเปรี้ยวหรือขมในปากแล้ว ยังทำใหเกิดอาการไอเรื้อรังได้อีกด้วย นั่นเพราะกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลมและหลอดอาหาร จึงทำให้ไอออกมา เด็กที่ไอเรื้อรังเพราะโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการไอแห้ง ส่วนใหญ่มักเกิดอาการในตอนกลางวันขณะที่เด็กนั่งอยู่ โดยเฉพาะหากเด็กพูด หัวเราะ หรือร้องเพลงไม่หยุดหลังกินอาหาร อาการไอเนื่องจากกรดไหลย้อนนี้ป้องกันได้ โดยงดให้เด็กกินอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น ชอกโกแลต อาหารทอด อาหารมัน อาหารเผ็ด น้ำอัดลม ผลไม้รสเปรี้ยว ให้กินอาหารหรือเครื่องดื่มอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หรือแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ ให้เด็กกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยลง

โรคภูมิแพ้และโรคไซนัสอักเสบ

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) และโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis) ถือเป็นสองสาเหตุหลักของอาการไอในเด็ก โดยเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะจามบ่อย มักมีน้ำมูกใส และดวงตาระคายเคือง ส่วนเด็กที่เป็นโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังจะมีน้ำมูกเหนียวข้นสีเหลืองปนเขียว เด็กอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับหรือปวดที่ใบหน้า และมีอาการเหล่านี้มากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป เด็กที่เป็นโรคทั้งสองชนิดนี้มักมีอาการเสมหะไหลลงคอ (postnasal drip) ซึ่งนำไปสู่อาการไอเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กอยู่ห่างจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร มลพิษ สะเก็ดหนังหรือขนสัตว์ รวมไปถึงรักษาด้วยยาแก้ภูมิแพ้ หากเป็นไซนัสอักเสบคุณหมออาจให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการล้างไซนัส

อาการไอกรน

อาการไอกรน (Whooping cough) หรือโรคไอกรน (Pertussis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้ไอติดต่อกันหลายครั้งพร้อมพร้อมมีเสียงหายใจลำบากตามมาหลังไอ โรคไอกรนทำให้มีอาการไอเรื้อรังในเด็กนานติดต่อกันได้หลายเดือน และอาจทำให้เกิดอาการหรือโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) ร่างกายขาดออกซิเจน โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม อาการชัก หรือร้ายแรงอาจถึงขึ้นเสียชีวิต โรคไอกรนนี้ถือเป็นโรคร้ายแรงต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

โรคซิสติกไฟโบรซิส

โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) เป็นโรคเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์สร้างเมือกที่หนาและเหนียวข้นกว่าปกติ เมื่อเมือกดังกล่าวไปอุดกั้นตามอวัยวะต่างๆ จึงส่งผลให้อวัยวะนั้นๆ ทำงานผิดปกติ เช่น ไปปิดกั้นปอดจนปอดติดเชื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดหรือน้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นแม้จะกินอาหารเยอะมาก ท้องเสียเรื้อรัง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน เป็นต้น

สาเหตุอื่นๆ

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว อาการไอเรื้อรังในเด็กยังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง
  • สิ่งแปลกปลอม เช่น ของเล่น อาหาร เข้าไปติดในหลอดลมหรือหลอดอาหาร มักเกิดกับเด็กอายุ 2-4 ปี หากหาสาเหตุไม่ได้ เด็กอาจมีอาการไอไม่หยุดนานหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน
  • ไอโดยที่ไม่มีโรค หรือที่เรียกว่า Habit Cough มักหาโรคที่เป็นสาเหตุไม่ได้ เด็กส่วนใหญ่จะไอแห้งติดๆ กัน (Honking cough) และไม่เป็นในเวลานอนหลับ สันนิษฐานว่าเกิดจากกล้ามเนื้อร่วมประสาทกระตุก
  • ไอเพราะระคายเคือง เนื่องจากสูดมลพิษเข้าไป เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย ซึ่งอาการไอจะยิ่งเรื้อรังและแย่ลงหากเด็กเป็นโรคหืด หรือโรคเยื่อจมูกอักเสบ

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ก่อนให้ลูกกินยาแก้ไอ

อาการไอสามารถบรรเทาได้ด้วยยาจิบแก้ไอ หรือที่เรียกว่ายาน้ำแก้ไอ ส่วนอาการเจ็บคอที่นำไปสู่อาการไอนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วย ยาอมหรือลูกอมแก้เจ็บคอ แต่หากเด็กมีอาการไข้หวัด อาการไอ หรือเจ็บคอ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกกินยาบรรเทาอาการ ควรทราบข้อเท็จจริงต่อไปนี้
  • ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีจิบยาน้ำแก้ไอที่มีน้ำผึ้งเป็นส่วนผสม
  • ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปีกินยาอมหรือลูกอมแก้เจ็บคอ เพื่อป้องกันเด็กสำลัก รวมถึงไม่ควรให้กินยาขับเสมหะ (Expectorants) หรือยาระงับอาการไอ (Cough Suppressants) ด้วย
  • ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีกินยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome) จนสมองเสียหายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เมื่อใดที่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ

  • พูดหรือหายใจลำบาก
  • อาเจียนบ่อย
  • ไอคนหน้าดำหน้าแดง
  • ดูเหนื่อยล้าอ่อนเพลียมาก
  • สงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดคอ
  • เจ็บหน้าอกเมื่อสูดหายใจแรงๆ
  • ไอเป็นเลือด หรือหายใจหวีด
  • สำหรับเด็กอ่อนหรือเด็กทารกอายุไม่เกิน 4 เดือนที่มีไข้สูงกว่า 38° เซลเซียส หรือกินยาแก้ไข้ตามที่คุณหมอสั่งนานกว่า 2 ชั่วโมงแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ แต่ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!?!

เด็กจะได้ดีต้องถูกพ่อแม่ตีและเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจริงเหรอ จะเลี้ยงลูกให้เป็นคนเข้มแข็งต้องให้รูปจักความเจ็บปวดจริงไหม ลูกทำผิดก็ต้องทำโทษถูกต้องแล้วหรือไม่ แต่สังเกตไหมยิ่งทำโทษลูกมากเท่าไร ลูกยิ่งดื้อมากขึ้นเท่านั้น เพราะอะไร ความจริงแล้วการทำโทษส่งผลร้ายหรือให้ผลดีกันแน่ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ
เรามีความเชื่อกันมานานว่า หากอยากให้ลูกเป็นเด็กดีต้องอบรมและสั่งสอน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้พฤติกรรมของลูกอยู่ใน “กรอบ” ที่งดงาม รู้จักรักษากฏเกณฑ์ก็คือการทำโทษเมื่อลูกทำผิด ให้รู้จักสำนึกและเรียนรู้จากความผิดพลาด พ่อแม่หลายคนยังเชื่อว่าการตีลูกคือการปลูกฝังจิตสำนึกให้ลูกรู้จักกลัวเกรง เข็ดขยาด จนไม่กล้าทำความผิดเดิมซ้ำอีก และยังมีพ่อแม่หลายคนเชื่อว่าการลงโทษโดยการสร้างความเจ็บปวดให้ลูกคือสิ่งที่ควรทำ เพราะในความเจ็บปวดนั้นคือบทเรียนเพื่อเรียนรู้ที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วแบบนี้ถ้าลูกดื้อพ่อแม่ควร ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ
หลายคนมองว่าการลงโทษด้วยการตีนั้นโหดร้ายกับเด็กมากเกินไป จึงหันมาใช้วิธีทีนุ่มนวลกว่า ทันสมัยกว่าด้วยการ Time Outs หรือการให้ลูกไปอยู่คนเดียวเพื่อสงบสติอารมณ์และทบทวนความผิดของตัวเองให้ได้ หรือที่ล้ำสมัยไปกว่านั้นคือการทำโทษแบบ Consequences หรือการทำโทษแบบยอมรับผลกรรมที่ทำเช่น ถ้าลูกปัดน้ำหก ก็สั่งให้ลูกหาผ้ามาเช็ด และเติมน้ำให้เต็มแก้วเหมือนเดิม เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าเพราะไม้ได้ใช้ความรุนแรง ลูกไม่เจ็บ พ่อแม่ไม่ต้องใช้กำลัง
แต่สังเกตไหมว่ายิ่งเราทำโทษมากขึ้นเท่าไร ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ลูกก็จะยิ่งต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น ไม่ก้าวร้าวที่บ้านแต่ไปก้าวร้าวกับคนอื่นนอกบ้าน ในทางจิตวิทยาให้ข้อมูลว่า การทำโทษเด็กด้วยวิธีต่างๆ นอกจากทำให้ลูกเจ็บที่ร่างกายแล้วยังสร้างบาดแผลให้จิตใจด้วย เด็กจะถูกทำโทษเมื่อทำผิด แต่พ่อแม่เคยถามตัวเองหรือไม่ว่าที่ทำโทษลูกนั้น เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกไม่ชอบใจของตัวเองหรือลูกทำผิดจริงๆ เคยมองลงไปให้ชัดเจนหรือไม่ว่าการที่แสดงอาการไม่น่ารัก หมายความว่าลูกต้องการความช่วยเหลือ หรืออยากสื่อสารอะไรกับพ่อแม่กันแน่ 
แต่คำว่า “ความถูกต้อง” นั้นตัดสินด้วยอะไร ด้วยเหตุผลหรือความรู้สึกส่วนตัวเพราะการทำโทษคือการสร้างเงื่อนไขให้ความรัก สร้างกฏในการถูกรัก ยอมจำนนเพื่อให้เป็นที่รัก เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจย้ำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่คือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าในทุกๆด้าน เมื่อถูกลงโทษลงเด็กจะเรียนรู้โดยอัตโนมัติว่าหากทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจพ่อแม่ ตัวเองจะถูกทำโทษ ถ้าอยากให้พ่อแม่รักต้องทำในสิ่งที่พ่อแม่ชอบเท่านั้น ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่งตัวแบบที่พ่อแม่สั่ง ทำตามที่พ่อแม่บอก ทั้งๆที่ไม่ชอบ เมื่อทำเรื่องผิดพลาดที่เกิดจากการขาดทักษะบางอย่างก็จะไม่กล้าบอกพ่อแม่
มีรายงายการวิจัยพบว่าผลกระทบจากความรู้สึกเสียใจจากการถูกทำโทษของเด็กจะค่อยบั่นทอนความรู้สึกของเด็ก ค่อยๆกัดกินเหมือนโรคร้าย ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง หรือตัดสินในด้วยตัวเองลดลง ฯลฯ และงานวิจัยล่าสุดยังพบว่าพ่อแม่ที่ทำโทษลูกที่มักชอบแหกกฏ จะทำให้ลูกเพิ่มความรุนแรงในการทำผิดกฏมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อไม่ได้อยู่ที่บ้าน 

การทำโทษส่งผลเสียระยะยาวอย่างไรต่อเด็ก
จากการศึกษาและเก็บของมูลของจิตแพทย์ทำให้พบว่าการทำโทษทางร่างกายมีความเกี่ยวพันธุ์กับพฤติกรรมเชิงลบต่างๆ รวมไปถึง ทำให้กลายเป็นเด็กก้าวราว และต่อต้านสังคม และยังพบว่าเด็กที่ถูกทำโทษด้วยการตีบ่อยๆ จะมีเนื้อส่วนสีเทาในเปลือกของกลีบสมองส่วนหน้าผากน้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้มีโอกาสเกิดอาการซึมเศร้า ติดยา และความผิดปรกติทางจิตได้มากกว่า

พ่อแม่หลายคนอาจบอกว่าไม่เคยทำโทษลูกด้วยการตี แต่หันมาใช้เทคนิคการลงโทษแบบสมัยใหม่ทั้งติดสินบน Time outs หรือการลงโทษแบบให้รับผลกรรม (Conseeuences) แทน แต่การทำโทษเหล่านี้คือการทำร้ายจิตใจ และบทสรุปสุดท้ายที่ให้ผลลัพธุ์ไม่ต่างจากการตีก็คือ เด็กถูกควบคุม และบังคับขืนใจนั่นเอง ทำให้เด็กรู้สึกถูกทอดทิ้งโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยจากพ่อแม่ที่สุด กลับถูกผลักไสให้สำนึกผิดเพียงลำพัง ถูกบังคับให้หาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ทำให้กลายเป็นเด็กที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์  เกิดความรู้สึกไม่พอใจพ่อแม่ และจะค่อยๆก่อตัวขึ้นในหัวใจดวงน้อยๆจนทำให้ลูกเริ่มต่อต้าน บ่มเพาะจนกลายเป็นความเกลียดชังในสุด เมื่อถึงจุดหนึ่งลูกจะเลิกทำในสิ่งที่คุณอยากให้ทำ และไปเชื่อฟังคำพูดของคนอื่นอย่างเช่น เพื่อน หรือแฟนแทน
แล้วพ่อแม่ต้องทำอย่างไร
สิ่งที่พ่อแม่สมควรทำเพื่อลูกน้อยเป็นอย่างยิ่งคือ ต้องเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของลูก และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น แสดงให้เห็นว่าคุณรักเขาในแบบที่เขาเป็นจริงๆ ไม่ใช่รักในสิ่งที่คุณบังคับให้ลูกเป็น เมื่อลูกทำผิด ควรหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะลูกอาจขาดทักษะด้านไหน หรือมียังมีอะไรไม่เข้าใจหรือไม่ และค่อยๆอธิบายสอนด้วยเหตุผล ใช้ความใจเย็น และทำให้ลูกรู้ว่าเขาหวังพึ่งพาคุณได้เสมอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าเขาจะเป็นคนอย่างไร คุณพร้อมจะอยู่ข้างๆทุกเวลา และไม่ว่าความต้องการของลูกคืออะไรคุณก็พร้อมสนับสนุนทุกทาง เฝ้ามองลูกเติบโตด้วยตัวเองไม่ต้องเข้าไปคอยบงการ รักลูกในสิ่งที่เขาเป็น ยอมรับในสิ่งที่ลูกทำ คุณอาจไม่ใช่พ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบแต่เป็นแค่พ่อแม่ที่เข้าใจลูกที่สุด ก็พอแล้วค่ะ